ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่นอนุสรณ์ 100 ปี
– สร้างโดย : วัดระฆงโฆษิตาราม
– อายุการสร้าง : วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515
– มวลสารสำคัญ : ผงเก่าสำเด็จวัดระฆังฯ. ผงเก่าสมเด็จวัดบางขุนพรหม, ผงเก่าสมเด็จวัดเกศไชโย, ผงสมเด็จปิลันทร์ ฯลฯ พระสมเด็จรุ่นอนุสรณ์ 100 ปีนั้น ถือว่าเป็นพระสมเด็จยุคที่ 2 ของวัดระฆังฯ ได้เลยครับ ที่มีอายุการสร้างเตรียมจัดเข้าทำเนียบพระเก่าได้เลย โดยมีพิธีการสร้างครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การสร้างพระของวัดระฆังฯ ก็ว่าได้เพราะเป็นการจัดงานบำเพ็ญกุศลครบรอบ 100 ปี การมรณะภาพของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อครั้งปี พ.ศ.2415 โดยมีในหลวงและพระราชินีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานทั้งสองคราว
***พิธีในการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์100 ปี แห่งการมรณภาพท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ประกอบไปด้วยพิธีทั้งทางสงฆ์และพราหมณ์ รวมทั้งสิ้น 3 วาระด้วยกัน
***วาระแรก ประกอบพิธิพุทธาภิเษกทองชนวนและผงมวลสารหมายกำหนดการวาระแรก วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน พ.ศ.2514 พิธีการในส่วนนี้จัดขึ้นตามแบบขนบธรรมเนียมทั้งพิธีสงฆ์ และ พิธีพราหมณ์ มีการประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญบารมีแห่งเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทำพิธีบูชาฤกษ์ บูชาเทพยดา
ประธานฝ่ายสงฆ์ พระราชธรรมภาณี ประธานฝ่ายพราหมณ์ พระราชครูวามเทพมุนี พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา ประธานกรรมการดำเนินงานจุดเทียนถวายพระราชธรรมภาณี ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัย
***วาระที่ 2 ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมาจำลองและรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โตหมายกำหนดการวาระที่ 2 วันเสาร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2514 พิธิการในวาระที่สองนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จมาเททองเป็นปฐมฤกษ์ตามกำหนดฤกษ์เวลา 15.35 น. และทรงปลูกต้นจันทน์หน้าหอพระไตรปิฎกด้วย
***วาระที่ 3 ประกอบพิธิพุทธาภิเษกพระพุทธรูป และวัตถุมงคลต่าง ๆหมายกำหนดการวาระที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515 อันเป็นวันครบรอบ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พิธีพุทธาภิเกจัดขึ้นตามขนบประเพณี ทั้งพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์ ในวาระที่สามนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นครั้งที่ 2 เพื่อทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก และทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดระฆังโฆสิตาราม
มีพระคณาจารย์ชื่อดังในยุดนั้นทั่วฟ้าเมืองไทย อาทิเช่น หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อเต๋ หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อแพ หลวงปู่เทียม หลวงพ่อเส่ง หลวงพ่อมุม และพระคณาจารย์ชื่อดังอีกกว่าร้อยรูป ร่วมพิธีปลุกเสก
กดพิมพ์พระนั้นทางวัดกำชับให้จัดทำขึ้นภายในวัดทุกขั้นตอน และเข้าพิธีในคราวเดียวกันทั้งหมด จึงไม่มีพระเสริมที่ไม่ได้ผ่านพิธี พิมพ์พระเนื้อผงจัดทำขึ้นทั้งหมด 4 พิมพ์ ได้แก่
– พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (พิมพ์ใหญ่)
– พิมพ์รูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
– พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (คะแนน)
พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (พิมพ์ใหญ่นิยม) คือ
1.พิมพ์เศียรโต A บล็อคแรก
-พิมพ์เศียรโต A บล็อคแรก เต็มพิมพ์ เป็นบล็อคที่พบเห็นน้อยที่สุดในบรรดาอนุสรณ์ 100 ปี เหตุที่เรียกเต็มพิมพ์นั้น เนื่องจากเป็นพระท่ีกดแรกๆ ในขณะที่แม่พิมพ์ยังสะอาดอยู่ จึงเผยให้เห็นจุดพิจารณาพิมพ์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ครบเกือบทุกจุด ซึ่งถ้าจะให้นับจริงๆ จะมีมากกว่า 20 จุดเลยทีเดียว ซึ่งจำนวนจุดต่างๆ จะมีความสำคัญต่อมูลค่าของพระองค์นั้นๆ เป็นอย่างมาก
-พิมพ์เศียรโต A บล็อคแรก ไม่เต็มพิมพ์ จะมีจุดตำหนิเดียวกันกับเศียรโตแบบเต็มพิมพ์ แต่จะมีลักษณะตื้นกว่า หรือบางจุดอาจจะหายไป จึงทำให้ราคาและความนิยมรองลงมาจากแบบเต็มพิมพ์
2.พิมพ์เศียรโต B พิมพ์เศียรโต บล็อค B เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มพิมพ์นิยมที่พบเห็นได้น้อย เค้าโครงพิมพ์คล้ายกับพิมพ์เศียรโต บล็อคแรก (ซึ่งเศียรโตทั้ง 2 พิมพ์ ต่างมีต้นแบบเดียวกัน) เพียงแต่พิมพ์เศียรโต บล็อค B จะตื้นกว่ามาก
3.พิมพ์เส้นด้าย ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ถัดมาจาก พิมพ์เศียรโต โดยใช้แม่พิมพ์ในการกดเดียวกันแต่ว่าจะมีตำหนิในพิมพ์ตื้นกว่า พิมพ์เศียรโตเนื่องจากแม่พิมพ์เริ่มเกิดการชำรุด แต่บางองค์อาพบตำหนิของพิมพ์เศียรโตบางจุดได้ แบ่งออกเป็น
-เส้นด้ายลึกฟอร์เศียรโต
-เส้นด้ายลึก
-เส้นด้ายใหญ่
-เส้นด้ายเล็ก
4.พิมพ์ไข่ปลาเลือน แบ่งออกเป็น
-ไข่ปลาเลือน บล็อคแรก
-ไข่ปลาเลือน บล็คสอง
-ไข่ปลาเลือน บล็คสาม
5.พิมพ์ซุ้มซ้อน
6.พิมพ์ต้อใหญ่
พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (พิมพ์ใหญ่ทั่วไป) คือ
1.พิมพ์ไข่ปลาใหญ่
2.พิมพ์ต้อ
3.พิมพ์หลังเต่า
4.พิมพ์เศียรรูปไข่
5.พิมพ์อกใหญ่
6.พิมพ์ลึก
7.พิมพ์ซุ้มติ่ง
8.พิมพ์แขนกลม
พิมพ์รูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) คือ
1.พิมพ์หน้าใหญ่
-พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 1 (นิยม) ห่วงลึก รูห่วงแคบ ขอบแบน
-พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 2 ห่วงลึก รูห่วงกว้าง ขอบแบน
-พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 3 ห่วงลึก ขอบห่วงกลม
-พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 4 ห่วงลึก สังฆาฏิตรง
-พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 5 ห่วงตื้น
2.พิมพ์หน้าเล็ก
พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (คะแนน) คือ
-พิมพ์คะแนน แบบมีจุด (นิยม)
-พิมพ์คะแนนแบบไม่มีจุด
สร้างแบบวิธีโบราณ กดพิมพ์และตัดขอบข้างด้วยมือ ทำให้พระแต่ละองค์มีความแตกต่างกันไปบ้าง แม้ว่าจะมาจากบล็อคเดียวกัน ด้านข้างปรากฏรอยตัดข้างจากหน้าไปหลังอย่างชัดเจน ความแตกต่างของมวลสารมากน้อยขึ้นกับการผสมของเนื้อพระในแต่ละครกหรือแต่ละส่วน มวลสารที่ใช้ใจการจัดสร้างประกอบด้วยผงวิเศษจากพระคณาจารย์ต่าง ๆ เกสรดอกไม้ ปูนที่กะเทาะจากพระอุโบสถวัดระฆังโฆษิตาราม พระสมเด็จบางขุนพรหม พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พระสมเด็จปิลินทน์ที่ชำรุด ผสมกับว่านและปูนเปลือกหอย ธรรมชาติของเนื้อพระมีลักษณะอมน้ำมันเล็กน้อย ปรากฏรอยปริแยกบริเวณผิวพระให้เห็นเป็นหลุมบ่อมากบ้างน้อยบ้างเนื่องจากการเซตตัวของเนื้อพระ ผิวพระหลายองค์ปรากฏคราบสีน้ำตาลอ่อน ด้านหลังขององค์พระปรากฏตราประทับสีแดง น้ำเงิน เขียว และอมม่วงก็มี ตลอดระยะเวลาในการกดพิมพ์พระ ก็ได้ทำการถอดพิมพ์ เพื่อทดแทนแม่พิมพ์เดิมที่ชำรุดไป รวมแล้วกว่า 10 บล็อคพิมพ์ด้วยกัน สำหรับข้อมูลเชิงลึกในการสร้างพระเนื้อผง รุ่น 100 ปี